Image Image Image Image Image Image Image Image Image Image

Kawizara | May 18, 2024

Scroll to top

Top

No Comments

AI น่ากลัวจริงไหมแล้วเราต้องเตรียมรับมือกับมันอย่างไร?

AI น่ากลัวจริงไหมแล้วเราต้องเตรียมรับมือกับมันอย่างไร?
kawizara

เดี๋ยวนี้เราได้เห็นหุ่นยนต์เข้ามามีบทบาทในชีวิตเรามากขึ้นเรื่อยๆ แถมยังมีความฉลาดมากขึ้นเรื่อยๆ เสียด้วย ซึ่งการสร้างความฉลาดให้กับสิ่งไม่มีชีวิตแบบนี้เราจะเรียกสิ่งนั้นๆ ว่า ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI อย่างล่าสุดเราได้เห็นหุ่นยนต์ที่มีหน้าตาเหมือนมนุษย์มากๆ ซึ่งนอกจากจะจำลองลักษณะทางกายภาพของคนแล้วหุ่นยนต์เหล่านี้ยังมีความสามารถหลายๆ ด้านที่คล้ายคลึงกับมนุษย์อีกด้วย อย่างเช่นหุ่นยนต์ผู้ประกาศข่าว หรือหุ่นยนต์พนักงานต้อนรับที่สามารถสื่อสารได้ถึง 5ภาษา แต่ทั้งนี้คำว่า AI ก็ไม่ได้จำกัดอยู่แค่หุ่นยนต์ที่มีรูปร่างเหมือนคนเท่านั้น อย่าง JAVIS ในหนังเรื่อง Iron Man หรือรถยนต์ไร้คนขับเองก็นับว่าเป็น AI เช่นกัน

NASA-Can-Stop-Looking-for-Black-Holes-Says-Stephen-Hawking-2

แต่ว่าการมาของ AI เหล่านี้แม้จะดูล้ำ และมาช่วยทุ่นแรงงานคนได้เป็นอย่างดีแต่ก็อาจจะไม่ได้เป็นผลดีนักในระยะยาวเพราะหลายๆ คนที่คลุกคลีกับ AI อย่างเช่น Stephen Hawking เองก็ออกมาเตือนว่าความฉลาดของ AI ที่ถูกพัฒนาสู่ขั้นสูงสุดแล้วนั้นอาจจะนำมาสู่จุดจบของมวลมนุษยชาติ เพราะมันจะสามารถพัฒนาตนเองต่อไปได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องพึ่งมนุษย์อีกต่อไปต่างกับมนุษย์ที่มีวิวัฒนาการไปอย่างช้าๆ ซึ่งท้ายที่สุดอาจตกเป็นเบี้ยล่างของสิ่งที่ตนประดิษฐ์ขึ้น นอกจากนี้ Elon Musk CEO ของ Tesla บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าชื่อดังและ Bill Gates เองต่างก็ออกมาแสดงความกังวลว่าสุดท้ายแล้ว AI จะฉลาดเกินการควบคุมและอาจกลายเป็นภัยคุกคามมนุษย์ได้เช่นกัน

จริงๆ แล้วความกลัวที่ว่ามนุษย์กำลังสร้างสิ่งที่จะกลายมาเป็นนายของตนหรือมาเป็นผู้ล้างเผ่าพันธุ์มนุษย์นั้นไม่ใช่เรื่องใหม่เลย เราจะเห็นไอเดียที่สะท้อนความกังวลเหล่านี้ได้จากหนังหลายๆ เรื่องอย่าง I, ROBOT แต่ว่าความกังวลต่างๆ เหล่านี้มีแต่จะยิ่งเป็นตัวฉุดรั้งความก้าวหน้าทางวิทยศาตร์หรือไม่ และเราควรเตรียมที่จะรับมือกับมันอย่างไร?

A robot sitting at a desk

ก่อนอื่นเลยเราอาจจะต้องมาทำความเข้าใจกันเสียก่อนว่าขีดความสามารถของเหล่าคอมพิวเตอร์ในตอนนี้เป็นอย่างไรและมันจะก้าวไปได่ไกลแค่ไหน … ในทุกๆ วันนี้เรามีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีนั้นมีมากมายและพร้อมรองรับการคิดค้นและการเพิ่มพูนความสามารถของเหล่า AI อย่างเช่นระบบ Deep Learning ที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์เรียนรู้และเข้าใจสิ่งต่างได้ด้วยตัวเอง โดยระบบนี้จะเป็นการจำลองเครือข่ายประสาทแบบเดียวกับในสมองของมนุษย์ให้เครื่องจักรสามารถประมวลผลข้อมูลจำนวนมากๆ ได้ ยกตัวอย่างเช่น การรับรู้รูปแบบของภาษาเพื่อเอามาแปลความต่อ, การค้นหาภาพข้อมูลด้วยรูปภาพ หรือการจดจำในหน้าคนอย่างที่ใช้ใน Facebook เป็นต้น

กระนั้นในทุกวันนี้ปัญญาประดิษฐ์ยังทำงานตามการป้อนคำสั่งของมนุษย์และไม่มีความรู้สึกนึกคิด ไม่มีความต้องการเป็นของตน ซึ่งนี่ก็เป็นสิ่งที่ทำให้พวกมันมีความแตกต่างจากเรา และหลายๆ ฝ่ายก็คิดว่าการใช้คนทำงานร่วมกับชุดคำสั่งเพื่อสั่งการให้ AI ทำอะไรบางอย่างเช่นนี้น่าจะกลายมาเป็นข้อบังคับพื้นฐานเพื่อเลี่ยงการพัฒนาเกินขอบเขตของหุ่นยนต์ด้วย

googlecar-e1401261602733

แต่ทุกอย่างก็เป็นเหมือนเหรียญสองด้าน แม้ AI จะอยู่ใต้การควบคุมของยนุษย์แต่ก็อาจสุ่มเสี่ยงต่อการนำไปใช้งานในทางที่ผิดได้เช่นกัน เช่นการที่รัฐอาจใช้ AI ในการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของประชาชนด้วยการดักฟังข้อมูลการสนทนาต่างๆ รวมไปถึงการเข้ามาของ AI ที่ทำงานได้หลากหลายและไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยนี้อาจจะไปแย่งพื้นที่การทำงานของมนุษย์เป็นต้น แต่กระนั้นปัญหาเหล่านี้ก็ไม่ได้ถูกมองว่าเป็นภัยคุกคามต่อมวลมนุษยชาติอย่างท่ี Stephen Hawking คาดเอาไว้

ทั้งนี้หลายๆ คนมองว่าการที่ AI จะพัฒนาไปถึงขั้นสูงสุดนั้นนั้นยังเป็นเรื่องที่ไกลตัวเกินกว่าที่จะต้องมานั่งกังวลกัน เพราะทุกวันนี้แค่ทำความเข้าใจสมองและจิตใจของมนุษย์เองยังเป็นเรื่องที่เรายังต้องใช้เวลาในการเรียนรู้อีกมาก การสร้าง AI ที่สมบูรณ์แบบที่มีความรู้สึกนึกคิดและพัฒนาตนเองได้นั้นอาจจะไม่มีวันเกิดขึ้นเลยก็เป็นได้ อย่างในทุกวันนี้แม้เราจะสามารถสร้างรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยตัวเองภายใต้การโปรแกรมจากคนเพื่อช่วยยกระดับความสะดวกสบายได้ แต่เราคงจะไปไม่ถึงการสร้างรถที่มีความคิดของตัวเองว่ามันอยากขับไปไหนต่อไหนบ้าง

แต่แม้ปัญญาประดิษฐ์อย่างเต็มรูปแบบจะห่างไกลจากภาพในวันนี้อยู่มากเราเองก็อาจต้องมีการวางแผนรับมือในอนาคตอย่างรอบคอบไว้ด้วยว่าจะกำหนดแนวทางในการพัฒนา AI ร่วมกันเพื่อไม่ให้ไม่กลายเป็นภัยคุกคามอย่างไร เช่น การเปิดโปรเจค AI ให้สามารถตรวจสอบได้เพื่อช่วยกันอุดช่องโหว่ที่อาจจะเกิดขึ้นไปจนถึงการมีคำสั่งกดปิดสวิทช์เพื่อความปลอดภัย เป็นต้น

 

Source : economist

 

comments