Image Image Image Image Image Image Image Image Image Image

Kawizara | May 19, 2024

Scroll to top

Top

No Comments

“นาโนโนเซลลูโลส” ทางเลือกใหม่ในการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

“นาโนโนเซลลูโลส” ทางเลือกใหม่ในการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
kawizara

เดี๋ยวนี้เราอยู่ในยุคไอทีที่ทุกอย่างต้องอินเทรน ต้องทันสมัย ซึ่งในทางกลับกันมันก็ทำให้ life cycle ของ device ต่างๆ นั้นสั้นลงด้วย ลองสังเกตง่ายๆ ว่าเมื่อสัก 10 ปีที่แล้วมือถือเครื่องหนึ่งมีอายุการใช้งานนานอาจจะถึง 5ปี แต่ปัจจุบันนี้เราแทบจะเปลี่ยนมือถือกันทุกปี หรือบางครั้งปีละหลายเครื่องเสียด้วยซ้ำ และแน่นอนว่าเมื่อใหม่มาเก่าก็ไป ไม่ให้คนอื่นก็โยนทิ้ง ซึ่งสุดท้ายก็จะไปจบลงที่กองขยะ

จากข้อมูลของกรมโรงงานอุตสาหกรรมในปี 2556 เผยว่ามีการเพิ่มขึ้นของขยะอิเล็กทรอนิกส์ภายในประเทศสูงกว่า 20 ล้านเครื่อง และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 10 ต่อปี โดยเฉพาะโทรศัพท์มือมีปริมาณสูงมากถึง 9.2 ล้านเครื่อง เลยทีเดียว ขณะที่ปัจจุบันโรงงานในประเทศที่มีกระบวนการคัดแยกและบดย่อยชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์มีจำนวนน้อยสวนทางกับปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งวัสดุที่เราใช้ในการผลิตชิ้นส่วนต่างๆ ในปัจจุบันนั้นมักมาจากพลาสติก ซิลิกอนหรือวัสดุที่มีพิษและย่อยสลายยาก ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม

wood-computer-chipเพื่อเป็นการแก้ปัญหาดังกล่าวทางทีมนักวิจัยของมหาวิทยาลัยวิสคอนซินเมดิสัน ประเทศสหรัฐอเมริกาได้เล็งเห็นปัญหานี้และปิ้งไอเดียผลิตชิปคอมพิวเตอร์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งทำจากนาโนเซลลูโลสที่ผลิตมาจากเส้นใยพืชขนาดเล็ก ข้อดีของมันคือมีความยืดหยุ่น แข็งแรง และโปร่งแสง พร้อมกันนี้เขายังได้เคลือบสารพิเศษเบางๆ เอาไว้เพื่อให้มันมีผิวที่เรียบขึ้นและสามารถป้องกันความชื้นได้ดีขึ้น แต่แม้ว่าจะเปลี่ยนวัสดุมาเป็นแบบที่รักโลกมากขึ้นแต่ก็มีรายงานว่าประสิทธิภาพของชิปนี้ไม่ได้ต่างจากการผลิตด้วยวัสดุแบบเดิมเลย และที่สำคัญเมื่อหมดอายุการใช้งานแล้วมันยังสามารถย่อยสลายโดยเชื้อราตามธรรมชาติได้อีกด้วย

sea2

ซึ่งนอกจากชิปที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแล้วก็ยังมีการผลิตแบตเตอรี่จากนาโนเซลลูโลสเพื่อลดสารอันตรายอย่างโลหะหนักพวกตะกั่วหรือแคดเมี่ยมในแบตเตอรี่หลังเสื่อมประสิทธิภาพเช่นกันโดยงานนี้ทางมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยอุปซอลาได้นำสารประกอบโพลิเมอร์ที่ชื่อว่าพอลิไพโรลซึ่งมีคุณสมบัติในการนำไฟฟ้ามาใช้เป็นอิเล็กโทรดแทนและใช้นาโนเซลลูโลสจากสาหร่ายคลาโดโฟร่ามาเป็นวัสดุรองรับทำให้สามารถเคลือบโพลิเมอร์ลงบนเส้นใยได้ดีขึ้น ซึ่งนอกจากจะได้แบตเตอรี่ที่มีน้ำหนักเบา,มีความทนทานสูงและต้นทุนในการผลิตต่ำแล้วยังสามารถทำการอัดประจุและคายประจุได้หลายครั้งโดยแทบจะไม่สูญเสียประสิทธิภาพในการเก็บประจุไฟฟ้าเลยค่ะ

images
แต่ระหว่างที่นาโนเซลลูโลสจะพัฒนาแพร่หลายพอให้เราใช้งานกันทั่วไปเราก็คงจะต้องรับผิดชอบต่อขยะอิเล็กทรอนิกส์ของตนด้วยการแยกทิ้งให้ถูกวิธีเพื่อจะได้นำไปกำจัดอย่างเหมาะสมต่อ ซึ่งในบ้านเราก็มี “โครงการจุฬาฯ รักษ์โลก” ที่รับเอามือถือเก่าไปกำจัดอย่างถูกวิธี หรือทางกสทช. เองก็มี “โครงการคืนแบตเก่าเรารักษ์โลก” ที่จะรวบรวมไปให้กรมควบคุมมลพิษทำลายอย่างถูกต้องและปลอดภัยเพื่อไม่ให้เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมค่ะ

 

Source: mashablenanotech

 

comments