Image Image Image Image Image Image Image Image Image Image

Kawizara | May 13, 2024

Scroll to top

Top

No Comments

มอง Digital Divide มุมใหม่ ทำไมคนเข้าถึงอินเตอร์เน็ทบนมือถือไม่ได้

มอง Digital Divide มุมใหม่ ทำไมคนเข้าถึงอินเตอร์เน็ทบนมือถือไม่ได้
kawizara

เป็นเรื่องดีที่ปัจจุบันนี้เราสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ง่ายขึ้นกว่าเคย เราสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ ติดตามข่าวสาร หรือจะใช้หาข้อมูลความรู้เพิ่มเติมได้ง่ายแค่ปลายนิ้ว เพราะเดี๋ยวนี้เราสามารถใช้อินเตอร์เน็ทได้จากอวัยวะชิ้นที่ 33อย่างสมาร์ทโฟน แต่ว่านั่นก็อาจจะไม่ใช่สำหรับทุกคนนะคะ เพราะยังมีหลายๆ คนที่ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศต่างๆ ได้ ซึ่งความเหลื่อมล้ำแบบนี้เราอาจเรียกได้ว่า Digital Divide

ในยุคนี้มีตัวเลขที่น่าสนใจ 3ตัวที่จะทำให้เรามองเห็นภาพและเข้าใจคำว่า Digital Divide นั่นก็คือ 94, 50 และ 36

  • 94% คือตัวเลขของประชากรบนโลกที่สามารถเข้าถึงสัญญาณโทรศัพท์มือถือได้ ซึ่งถือว่าเป็นเลขที่เติบโตขึ้นมากอย่างไม่มีใครคาดถึงจากเมื่อ 15ปีที่แล้ว
  • 50% คือตัวเลขของประชากรบนโลกที่สามารถเข้าถึงสัญญาณโทรศัพท์มือถือได้ พร้อมทั้งสามารถเข้าใช้งานอินเตอร์เน็ทบนมือถือได้
  • 36% คือตัวเลขของประชากรโลกที่มีอินเตอร์เน็ทบนมือถือไว้ใช้งานหลังจากที่มีอินเตอร์เน็ทให้บริการบนมือถือมาราว 6-7ปี ทั้งนี้ตัวเลขที่เพิ่มขึ้นก็มาจากการที่สมาร์ทโฟนราคาถูกลง ใช้งานได้หลากหลายมากขึ้น รวมถึงค่าบริการที่ลดลงด้วย

โดยหากเจาะจงลงไปแล้วตัวเลขเหล่านี้มีความสัมพันธ์กับภูมิภาคอย่างมีนัยสำคัญ เช่น ในประเทศที่พัฒนาแล้วแถบเอเชียแปซิฟิก 99% ของประชากรสามารถใช้สัญญาณ 3Gได้ และมีผู้สมัครใช้บริการสูงถึงราว 109% (หนึ่งคนมีการสมัครใช้งานอินเตอร์เน็ทบนมือถือมากกว่า 1เครื่อง)

ส่วนกลุ่มประเทศที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮาราในทวีปแอฟริกานั้นประชากร 82% สามารถเข้าถึงสัญญาณโทรศัพท์ได้, 35% สามารถเข้าถึง 3G ได้ แต่จนถึงตอนนี้มีผู้สมัครใช้งานอินเตอร์เน็ทบนมือถือเพียง 11%เท่านั้น

ซึ่งหากลองมองดูตัวเลขจากแต่ละภูมิภาคจะพบปัญหาที่คล้ายๆ กันคือมีเสาสัญญาณที่พร้อมจะให้บริการมากกว่าจำนวนคนที่สมัครใช้งานจริงๆ ดังนั้นคำว่า Digital Divide จึงไม่ได้หมายถึงโครงสร้างพื้นฐานของเครือข่ายที่ไม่ครอบคลุมแต่จริงๆ แล้วกลับเป็นการที่คนไม่เลือกใช้งานเสียมากกว่า

“แล้วเราจะทำอย่างไรให้คนหันมาใช้งานอินเตอร์เน็ทบนมือถือ?” คำถามนี้อาจจะต้องมองเป็นสองส่วนคือ “คนจ่ายไหวหรือไม่” เพราะในบางประเทศการเข้าถึงอินเตอร์เน็ทยังมีราคาแพงอยู่ ในบางที่ค่าใช้จ่ายเหล่านี้คิดเป็นกว่า 10% ของรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของประชากรเลยทีเดียว

อีกส่วนคือ “การเข้าถึงเนื้อหา” ซึ่งก็จะครอบคลุมทั้งมีเนื้อหาที่เป็นภาษาท้องถิ่นหรือไม่ เนื้อหาต่างๆ เป็นประเด็นที่คนท้องถิ่นสนใจหรือเปล่าซึ่งก็จะนำมาสู่การตอบคำถามที่ว่าผู้คนรู้สึกว่ามันเป็นประโยชน์กับพวกเขาหรือไม่ หากการเข้าถึงอินเตอร์เน็ทไม่ได้ตอบโจทย์สิ่งเหล่านี้ก็อาจจะเป็นอีกเหตุผลที่คนไม่รู้ว่าจะใช้งานมันไปทำไมในเมื่อมีสิ่งอื่นๆ ที่น่าสนใจมากกว่ารออยู่

ในหลายๆ ประเทศอย่างเช่นบราซิล “การเข้าถึงเนื้อหา” นี้กลายเป็นเหตุผลหลักที่ผู้คนไม่ใช้อินเตอร์เน็ทบนมือถือ 70%ให้เหตุผลว่าเพราะไม่ได้สนใจที่จะใช้เอง ในขณะที่ 25% ระบุว่าเข้าไม่ถึงอินเตอร์เน็ทและอีก 26% บอกติดปัญหาเรื่องค่าใช้จ่าย

เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วเราคงจะต้องถามต่อว่า “จะทำอย่างไรให้ผู้คนเข้าใจประโยชน์ของอินเตอร์เน็ท?” แน่นอนว่าการที่จะทำข้อนี้ได้ก็ต้องไปจัดการเรื่องโครงสร้างพื้นฐานของอินเตอร์เน็ทในแต่ละประเทศเสียก่อน เมื่อวางระบบและลดราคาเพื่อให้แน่ใจว่าทุกๆ คนมีโอกาสที่จะเข้าถึงได้แล้วก็ต้องหันมาพัฒนาเนื้อหาบนโลกออนไลน์ให้ตอบโจทย์ผู้เสพ พร้อมกันนี้ภาครัฐยังต้องเข้ามาช่วยสนับสนุนด้วยการเพิ่มความสะดวกโดยการให้บริการออนไลน์หรือช่วยโปรโมทและให้ความรู้กับภาคเอกชนและประชาชนด้วย

 

Source: agenda.weforum.org

comments