Image Image Image Image Image Image Image Image Image Image

Kawizara | April 18, 2024

Scroll to top

Top

No Comments

โป๊ปฟรานซิสที่ 1 ทรงใช้สื่อโซเชียลเพื่อเข้าถึงผู้คน

โป๊ปฟรานซิสที่ 1 ทรงใช้สื่อโซเชียลเพื่อเข้าถึงผู้คน
kawizara

สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสที่ 1 เป็นพระสันตะปาปานิกายเยซูอิตองค์แรก ทั้งยังเป็นชาวละตินอเมริกันองค์แรกจึงทรงเป็นตัวแทนชาวคริสต์จากประเทศที่กำลังพัฒนา ซึ่งหลังจากเข้ารับตำแหน่งสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสได้รับการยกย่องและชื่นชมอย่างจากคนทั่วโลกอย่างมากเพราะความเป็นคนสมถะและการให้ความสนใจกับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนโลก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องผู้ลี้ภัย เรื่องการล่วงละเมิดทางเพศ ไปจนถึงเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อม พระองค์จึงได้กลายเป็นความหวังของการแก้ไขปัญหาหลายอย่างที่เกิดขึ้นจนได้รับตำแหน่ง “บุคคลแห่งปี 2013” ด้วยเหตุผลว่าพระสันตะปาปาทรงนำพระราชอำนาจออกมาสู่ผู้คนบนท้องถนนได้อย่างแท้จริง  

และหนึ่งในสิ่งหนึ่งที่ทำให้โป๊ปองค์นี้สามารถเข้าถึงและครองใจประชาชนทั่วโลกได้นั้นเป็นเพราะท่านยอมรับและเลือกใช้เทคโนโลยีโดยเฉพาะการใช้สื่อโซเชียลมีเดียให้เกิดประโยชน์ในการติดต่อสื่อสาร ตอบคำถามและแสดงแนวคิดต่างๆ อย่างเสรีผ่านทั้งทาง twitter, google hangout นอกจากนี้ยังทรงเปิดรับความคิดเห็นต่างๆ ผ่านทางอีเมลที่สามารถส่งถึงท่านได้โดยตรงและทรงใส่ใจที่จะโทรกลับไปหาผู้ที่เขียนจดหมายมาถึงท่านอีกด้วย

ช่องทางหลักของโป๊ปดูเหมือนจะเป็นทางทวิตเตอร์ @Pontifex ที่พระองค์มีผู้ติดตามสูงที่สุดถึง 7ล้านคนใน account ภาษาอังกฤษ พร้อมทั้งมีผู้ติดตาม twitter ของท่านที่เผยแพร่ในภาษาอื่นๆ อีก 7ภาษารวมกว่า 16ล้านคน ซึ่งท่านและทีมงานก็มักจะทวีตข้อความจากโอวาทอย่างสั้นๆ แต่ชัดเจนใน 140 ตัวอักษร ทำให้เข้าถึงและติดตามได้ง่ายและรวดเร็ว อย่างหญิงชาวฟิลิปปินส์คนหนึ่งที่เชื่อว่าตนเองหายจากมะเร็งเพราะความศรัทธาในศาสนาเผยว่าการได้ทวีตไปหาพระสันตะปาปาทำให้เธอรู้สึกเหมือนได้สนทนากับพระองค์โดยตรงแม้รู้ดีว่ามีเจ้าหน้าที่ดูแลบัญชีนี้ก็ตาม

tumblr_inline_nv6inuZwvC1tbmhz5_540

 

ซึ่งการเข้าใจถึงยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงและพฤติกรรมของผู้คนที่เปลี่ยนไปด้วยการเปิดรับเอาเทคโนโลยีมาเป็นกระบอกเสียงนี่เองที่ทำให้ภาพของพระสันตะปาปาเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ทำให้ผู้คนสามารถใช้สื่อโซเชียลที่เล่นเป็นกิจวัตรอยู่แล้วเข้าถึงศาสนาได้แม้ในวันเร่งรีบโดยไม่ต้องไปเข้าโบสถ์

แต่ทั้งนี้ก็ยังมีการตั้งคำถามว่าศาสนจักรจะสามารถนำเอาความศรัทธาที่อยู่เหนือกาลเวลาส่งต่อให้ผู้คนในยุคดิจิตอลได้จริงๆ หรือไม่ และคำสอนผ่านสื่อไฮเทคนั้นจะถูกบิดเบือนไปจากเดิมหรือเปล่า ปัจจุบันมีชาวคาทอลิคที่ต่อต้านการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ในศาสนาเพราะมันทำให้ผู้คนยิ่งตัดขาดจากกัน ใช้ชีวิตแบบตัวใครตัวมันอยู่ในโลกของตัวเอง ขัดต่อหัวใจของการประกาศพระวรสารหรือการนำคำสอนของพระเจ้าไปถึงคนทุกชนชั้นที่เป็นหลักปฏิบัติในชีวิตที่เน้นฟื้นฟูและเปลี่ยนแปลงจิตใจมนุษย์หรือเปล่า

ซึ่งหากจะลองย้อนดูพบว่าหลักคำสั่งสอนของโป๊ปฟรานซิสไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมแต่เป็นการพูดเรื่องเดิมด้วยน้ำเสียงใหม่ที่มีท่าทีประนีประนอมและเข้าใจกระแสสังคมมากขึ้น เช่นจากคำที่ท่านเคยตรัสตอบว่า “Who am I to judge?” หรือ “เราเป็นใครที่จะไปตัดสินเขา?” จากการที่มีคนถามคำถามเรื่องกรณีรักร่วมเพศ

แม้ท่านตอบว่าตามกฎถือว่าเป็นพฤติกรรมที่เป็นบาป แต่ถ้าหากเขาผู้นั้นยังพยายามที่จะเข้าหาพระเจ้าอย่างบริสุทธิ์ใจ การเข้าหานั้นย่อมไม่ถือเป็นบาปและควรได้รับการต้อนรับมากกว่าที่จะถูกขับไล่ไสส่ง พร้อมกันนี้ยังตรัสว่าเราไม่ควรลดทอนความสำคัญของคนรักร่วมเพศแต่ควรทำให้เขาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับสังคมให้ได้มากกว่า ซึ่งนี่ก็สอดคล้องกับคำสอนของพระเจ้าที่ว่า “จงอย่าตัดสินคนอื่น แล้วพระเจ้าจะไม่ตัดสินท่าน อย่ากล่าวโทษคนอื่น แล้วพระเจ้าจะไม่กล่าวโทษท่าน จงให้อภัยเขา แล้วพระเจ้าจะให้อภัยท่าน”

โดยส่วนตัวแล้วคิดว่าหากกระแสสังคมมีการปรับเปลี่ยน การที่จะก้าวไปให้ทันนั้นก็ต้องมาการปรับตามด้วย แต่ทั้งนี้ต้องตระหนักไว้ว่าการใช้เทคโนโลยีนั้นเพื่อเป็นตัวช่วยในการเป็นกระบอกเสียงแต่ก็ต้องยังคงหลักสำคัญของข้อความที่จะสื่อเอาไว้และเน้นไปที่การทำเพื่อส่วนรวมมากกว่าส่วนตน ซึ่งการรู้เท่าทันเทคโนโลยีทั้งข้อดีข้อเสียและการส่งผลต่อทัศนคติของผู้คนนั้นเมื่อรวมกับการรู้จักเลือกรับปรับใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสมก็น่าจะก่อให้เกิดผลดีได้มากกว่าผลเสีย

 

Source: popevisit2015.yahootnamcotvisalo

 

comments